การเลือกซื้อรถยนต์มือสองไม่ใช่เรื่องง่าย ใครๆ ก็กลัวถูกหลอก แต่จะป้องกันได้อย่างไร ถ้ายังมีความเชื่อผิดๆ กันอยู่... บทความนี้ไม่ใช่วิธีเลือกรถยนต์มือสอง แต่จะช่วยลบล้างความเชื่อผิดๆ ได้
เต็นท์ต้องย้อมแมวเสมอ - รถบ้านต้องสภาพดีกว่า
ความ เชื่อผิด : คนส่วนใหญ่ยังเชื่อกันอยู่ว่า การซื้อรถมือสองจากผู้ประกอบการ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เต็นท์รถมือสอง ต้องเสี่ยงต่อการย้อมแมว ต้องถูกหลอก มักเอารถเน่ามาหลอกขาย สารพัดจะเละทั้งตัวถังห่วย ชนยับ เครื่องยนต์ช่วงล่างซ่อมแบบขอไปที มีส่วนจริงบ้างเท่านั้น แต่ไม่ใช่ทุกเต็นท์
ส่วนรถที่ประกาศขายเองตามหน้านิตยสาร หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต ตั้งกล่องจอดข้างทางประกาศขาย หรือที่เรียกกันว่า รถบ้าน หลายคนรีบมองว่า น่าจะสภาพดีกว่ารถเต็นท์ เพราะเจ้าของใช้เอง ขายโดยไม่มีคนกลางราคาถูกกว่า รถก็สภาพดีกว่า ไม่มีการย้อมแมว
ความเป็นจริง : ของมือสองจะมีสภาพดีหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับแหล่งที่ขายเท่าไรนัก ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลและการใช้งานของเจ้าของเดิม และการปรับสภาพของผู้ขาย (ซึ่งอาจเป็นหรือไม่เป็นคนเดียวกับเจ้าของเดิม) เรื่องเต็นท์ย้อมแมว มีมาตลอดและยังมีอยู่เสมอ เพราะหลายคนทำธุรกิจแบบตีหัวเข้าบ้าน เน้นกำไรสูงๆ ไว้ก่อน ลูกค้ารู้ภายหลังไม่สน แต่เต็นท์หลายแห่งในระยะหลังมานี้ ต้องการทำธุรกิจระยะยาว ไม่รับซื้อรถสภาพแย่ๆ รถที่ขายอยู่ก็มีสภาพดี เพื่อให้ขายง่าย และสร้างชื่อเสียง ในระยะยาว เพื่อให้ลูกค้าคนเดิมวนกลับมาซื้ออีกหรือปากต่อปากบอกเพื่อนๆ ย่อมดีกว่าย้อมแมวขายแล้วลูกค้าสาปส่ง เรื่องนี้ต้องแล้วแต่นโยบายทางธุรกิจ
ส่วน รถบ้านนั้น มีทั้งแท้และเทียม เพราะพ่อค้ารถทราบดีว่าผู้ซื้อส่วนใหญ่ เชื่อมั่นว่ารถบ้านต้องสภาพดีราคาถูก ผู้ซื้อมักจะชะล่าใจ ตัดสินใจง่ายไม่ดูละเอียด จึงใช้วิธีเช่าบ้านเอารถไปจอดขายทีละคันสองคัน ซึ่งก็ไม่แพงเท่าไร ค่าเช่าเดือนละไม่กี่พันบาท แล้วอาจจะอยู่อาศัยเองด้วย หรืออาจจะใช้วิธีฝากขายกับคนที่ไว้ใจ ปลอมเป็นรถบ้าน สังเกตได้ว่าผู้ขายจะไม่ค่อยรู้รายละเอียดของรถคันนั้น อ้ำอึ้งเมื่อถูกถามลึกๆ และที่สำคัญคือ ชื่อในสมุดทะเบียน จะไม่ใช่ผู้ขายคนนั้น
ส่วนรถบ้านแท้ๆ ขายโดยเจ้าของจริง ไม่จำเป็นว่ารถจะมีสภาพดี เพราะเขาอาจจะดูแลรถมาไม่ดี จนเต็นท์ไม่รับซื้อหรือไม่รับเทิร์น เลยต้องมาขายเอง เป็นเรื่องแปลกที่รถบ้านซึ่งซ่อมแบบขอไปที ไม่ถูกเรียกว่าย้อมแมว
เต็นท์ต้องย้อมแมวเสมอ - รถบ้านต้องสภาพดีกว่า
ความ เชื่อผิด : คนส่วนใหญ่ยังเชื่อกันอยู่ว่า การซื้อรถมือสองจากผู้ประกอบการ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เต็นท์รถมือสอง ต้องเสี่ยงต่อการย้อมแมว ต้องถูกหลอก มักเอารถเน่ามาหลอกขาย สารพัดจะเละทั้งตัวถังห่วย ชนยับ เครื่องยนต์ช่วงล่างซ่อมแบบขอไปที มีส่วนจริงบ้างเท่านั้น แต่ไม่ใช่ทุกเต็นท์
ส่วนรถที่ประกาศขายเองตามหน้านิตยสาร หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต ตั้งกล่องจอดข้างทางประกาศขาย หรือที่เรียกกันว่า รถบ้าน หลายคนรีบมองว่า น่าจะสภาพดีกว่ารถเต็นท์ เพราะเจ้าของใช้เอง ขายโดยไม่มีคนกลางราคาถูกกว่า รถก็สภาพดีกว่า ไม่มีการย้อมแมว
ความเป็นจริง : ของมือสองจะมีสภาพดีหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับแหล่งที่ขายเท่าไรนัก ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลและการใช้งานของเจ้าของเดิม และการปรับสภาพของผู้ขาย (ซึ่งอาจเป็นหรือไม่เป็นคนเดียวกับเจ้าของเดิม) เรื่องเต็นท์ย้อมแมว มีมาตลอดและยังมีอยู่เสมอ เพราะหลายคนทำธุรกิจแบบตีหัวเข้าบ้าน เน้นกำไรสูงๆ ไว้ก่อน ลูกค้ารู้ภายหลังไม่สน แต่เต็นท์หลายแห่งในระยะหลังมานี้ ต้องการทำธุรกิจระยะยาว ไม่รับซื้อรถสภาพแย่ๆ รถที่ขายอยู่ก็มีสภาพดี เพื่อให้ขายง่าย และสร้างชื่อเสียง ในระยะยาว เพื่อให้ลูกค้าคนเดิมวนกลับมาซื้ออีกหรือปากต่อปากบอกเพื่อนๆ ย่อมดีกว่าย้อมแมวขายแล้วลูกค้าสาปส่ง เรื่องนี้ต้องแล้วแต่นโยบายทางธุรกิจ
ส่วน รถบ้านนั้น มีทั้งแท้และเทียม เพราะพ่อค้ารถทราบดีว่าผู้ซื้อส่วนใหญ่ เชื่อมั่นว่ารถบ้านต้องสภาพดีราคาถูก ผู้ซื้อมักจะชะล่าใจ ตัดสินใจง่ายไม่ดูละเอียด จึงใช้วิธีเช่าบ้านเอารถไปจอดขายทีละคันสองคัน ซึ่งก็ไม่แพงเท่าไร ค่าเช่าเดือนละไม่กี่พันบาท แล้วอาจจะอยู่อาศัยเองด้วย หรืออาจจะใช้วิธีฝากขายกับคนที่ไว้ใจ ปลอมเป็นรถบ้าน สังเกตได้ว่าผู้ขายจะไม่ค่อยรู้รายละเอียดของรถคันนั้น อ้ำอึ้งเมื่อถูกถามลึกๆ และที่สำคัญคือ ชื่อในสมุดทะเบียน จะไม่ใช่ผู้ขายคนนั้น
ส่วนรถบ้านแท้ๆ ขายโดยเจ้าของจริง ไม่จำเป็นว่ารถจะมีสภาพดี เพราะเขาอาจจะดูแลรถมาไม่ดี จนเต็นท์ไม่รับซื้อหรือไม่รับเทิร์น เลยต้องมาขายเอง เป็นเรื่องแปลกที่รถบ้านซึ่งซ่อมแบบขอไปที ไม่ถูกเรียกว่าย้อมแมว
ความเข้าใจที่ถูกต้อง : ให้ความเป็นกลางในใจในเรื่องของแหล่งที่ขาย ให้คิดว่าไม่ว่าจะซื้อที่ไหนก็มีโอกาสถูกย้อมแมวได้พอกัน จะได้ไม่ชะล่าใจ
สีสวย คือ สภาพดี อาจเพราะทำมาใหม่
ความเชื่อผิด : ไม่แปลกที่เมื่อเห็นรถคันใดสีสวยเงางาม ไม่มีรอยเฉี่ยวชนค้างอยู่ หลายคนจะคิดไปก่อนเลยว่า รถคันนี้สภาพดี เพราะเป็นสิ่งที่มองเห็น เป็นอย่างแรก และไม่ซับซ้อนในการดู ถึงจะซ่อมสีมาหรือพ่นใหม่ทั้งคัน แต่ถ้าทำมาเรียบร้อย ไม่เป็นคลื่นเป็นลอน อย่างน้อยก็ดูดี และอาจทำให้ผู้ซื้อชะล่าใจ ดูส่วนอื่นไม่ละเอียด
ความเป็นจริง : สี สวย แต่อาจเป็นเพราะซ่อมมาแล้ว หรือทำมาใหม่ทั้งคัน หลังจากเกิดอุบัติเหตุ สวยเงางามไม่พอ จำเป็นต้องดูในรายละเอียดว่า ทำไมถึงสีเนียน เป็นสีเดิมจากโรงงานจริง หรือสีพ่นใหม่ ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับอายุของรถด้วย ถ้ารถใหม่อายุไม่เกิน 7-8 ปี ซึ่งเป็นอายุเฉลี่ยของสีจากโรงงานผลิตที่พอจะทนอยู่ได้ ก็ไม่ควรจะมีการทำสีใหม่มาทั้งคัน ถ้าเคยซ่อมสีมาแผลสองแผลพอทำใจได้ หากทำสีมาทั้งคัน สันนิษฐานได้ 2 สาเหตุหลัก คือ เกิดอุบัติเหตุหนักหรือจอดตากแดดขาดการดูแล เพราะรถปีใหม่ๆ นั้นในแวดวงเขาเน้นกันว่าต้อง สีเดิม โดยผู้ขายมักจะบอกเน้นมากๆ ถ้าเป็นสีเดิมทั้งคัน เพราะจะชัดเจนว่า รถคันนั้นไม่เคยเกิดอุบัติเหตุเลย ส่วนรถเก่าอายุเกิน 10 ปี แน่นอนว่าต้องมีการทำสีมาใหม่ แต่ควรจะใหม่แบบเรียบร้อย ไม่ใช่ใหม่แต่ภายนอก แต่ภายในหมกเม็ดเลอะเทอะ ทำแบบลวกๆ
ความเข้าใจที่ถูกต้อง : สีเป็นเพียงเปลือกนอกเท่านั้น สวยแต่เปลือกก็มีเยอะ ถ้าเป็นรถใหม่ สีเดิมจากโรงงานย่อมดีที่สุด หลีกเลี่ยงการซื้อรถปีใหม่ๆ ที่ทำสีมาใหม่ทั้งคัน เพราะยังไงก็ไม่เนี้ยบไม่ทนเท่าสีโรงงาน ส่วนรถเก่าถ้าทำสีมาใหม่ ควรสวยทั้งนอกทั้งใน ละอองสีไม่เลอะเทอะ และอย่าลืมดูส่วนอื่นๆ ประกอบการตัดสินใจด้วย เพราะไม่ใช่สีสวยแล้วตัวถังต้องดีเสมอไป
เคาะ..ป๊องๆๆ บางทั้งคัน อาจบางแค่ภายนอก
ความเชื่อผิด : ความบางจากการเคาะด้วย มะเหงกนั้น หมายถึง ตัวถังบางมีแต่เหล็กกับเนื้อสี ไม่มีสีโป๊วทับเนื้อเหล็กอยู่ใต้สีชั้นนอก ถ้าเคาะแล้วบาง เสียงก้องๆ ดังป๊องๆๆๆ เสียงไม่ทึบ แสดงว่าบาง ไม่เกิดอุบัติเหตุมา ไม่มีการชน แล้วเคาะซ่อมแล้วโป๊วสีทับ ผู้ขายบางคนรีบบอกเลยว่า รถคันที่จะขายบางทั้งคัน ป๊องทั้งคัน เพื่อแสดงว่าไม่มีการชนหนักมาก่อน ผู้ซื้อจะได้สนใจ
ความเป็นจริง : การเคาะด้วยหลังมือไปทั่วคันรถ สามารถตรวจสอบความบางของตัวถังด้านนอกได้ว่า มีสีโป๊วทับหรือไม่ แต่การที่ตัวถังในส่วนที่เคาะนั้นบาง ไม่ได้หมายความว่ารถคันนั้นไม่เคยเกิดอุบัติเหตุหนักๆ ทุกชิ้นที่อยู่ภายนอกอาจบาง ทั้งที่รถคันนั้นเคยชนเละมาแล้ว เพราะซ่อมแบบเปลี่ยนทั้งชิ้น เช่น เปลี่ยนประตูทั้งบาน ฝากระโปรงทั้งชิ้น หรือแม้แต่แผ่นหลังคา ถึงจะคว่ำมา ก็เปลี่ยนหลังคาทั้งแผ่นได้ ถ้าซ่อมโดยวิธี เคาะดึงโครงสร้างข้างในแล้ว ชิ้นนอกใช้วิธีเปลี่ยนเอา หลังมือเคาะ ยังไงก็ป๊องๆ ยังไงก็บางทั้งคัน
ความเข้าใจที่ถูกต้อง : การเคาะตัวถังภาย นอกบอกไม่ได้ว่า รถคันนั้นไม่เคยชน เพราะบอกได้แค่ว่า ชิ้นนั้นไม่เคยชน แต่ข้างในนั้นอาจชนมาเละ แล้วเปลี่ยนชิ้นใหม่ภายนอกมา อะไหล่ตัวถังทั้งแท้ เทียบ เทียม ใหม่ เก่า มีให้เลือกเปลี่ยนอย่างสะดวก เมื่อเคาะฟังเสียงข้างนอกแล้ว ที่สำคัญคือ ต้องดูตะเข็บ รอยเชื่อม รอยอาร์คภายในทุกจุด เท่าที่จะดูได้อย่างละเอียด ถึงจะทราบได้ว่ารถคันนั้นเคย เกิดอุบัติเหตุหนักๆ หรือไม่ การเคาะแล้วเสียงป๊องๆ เป็นส่วนประกอบย่อยเท่านั้น ยุคนี้ชิ้นไหนๆ ก็เปลี่ยนกันได้ในราคาไม่แพง
เลขระยะทางบนหน้าปัด อย่าเชื่อมาก
ความ เข้าใจผิด : แม้คนส่วนใหญ่จะพอทราบกันว่า เลขกิโลเมตรบนมาตรวัดระยะทาง หรือเรียกกันแบบชาวบ้านว่า ไมล์ (ทั้งที่ไม่ใช่ระยะเป็นไมล์) สำหรับการซื้อ ขายรถมือสองนั้นเชื่อถือแทบไม่ได้ เพราะสามารถหมุนเลขกลับได้ง่าย มีช่างเก่งๆ รับทำให้ในราคาคันละ 500-1,000 บาทเท่านั้น แต่ผู้ซื้อก็อดไม่ได้ที่จะดูเลขไมล์ ประกอบการตัดสินใจด้วยเสมอ ดูเลขไมล์แล้ว ก็ไม่ค่อยเชื่อ บางคนยังไล่ไปดูร่องรอย การรื้อหน้าปัดด้วย ส่วนรถที่ใช้เลขไมล์เป็นดิจิตอล คนส่วนใหญ่คิด ว่าเปลี่ยนแปลง จากการใช้งานจริงไม่ได้ ทั้งที่บาง คันอาจทำ แต่อาจจะยากกว่าแบบอนาล็อก
ความเป็นจริง : ไม่ควรถือว่าเลขไมล์บนมาตรวัด เป็นตัวแปรสำคัญในการตัดสินใจ ควรดูสภาพส่วนอื่นที่สำคัญมากกว่าการเชื่อตัวเลขบน หน้าปัด เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงได้จริงๆ ทั้งแบบอนาล็อก และดิจิตอล โดยในแบบหลังนั้น อาจจะใช้วิธีป้อนสัญญาณให้เลขวิ่งเดินหน้า จนกลับมาขึ้นรอบใหม่ก็เป็นได้
ความเข้าใจที่ถูกต้อง : เลขไมล์แทบไม่มีผลต่อการตัดสินใจ ถ้าสภาพของอุปกรณ์อื่นไม่สอดคล้องกัน เช่น เลขไมล์น้อย แต่เบาะทรุด เปื่อย ปุ่มกดต่างๆ เลอะเลือนหรือถูกกดจนเลี่ยนมนไปหมดแล้ว
รถเต็นท์ราคาแพง - รถบ้านราคาถูก
ความเชื่อผิด : ความเชื่อนี้ไม่ผิดเท่าไรนัก เพราะรถในเต็นท์ส่วนใหญ่ มักจะมีราคาแพงกว่ารถบ้านแท้ๆ เพราะทำธุรกิจก็ต้องมีกำไร หรือต้องมีค่าใช้จ่ายในการปรับสภาพ รถเต็นท์ย่อมต้องเนี้ยบ ส่วนรถบ้านนั้นอะไรพังนิดพังหน่อย เฉี่ยว นิดๆ หน่อยๆ แล้วยังไม่ซ่อม ก็ไม่มีใครว่า แต่รถ บ้านบางคันอาจจะตั้งราคาไว้แพง เพราะเจ้าของศึกษาราคาจากรถเต็นท์ ที่ประกาศไว้ หรือแพงโอเวอร์ไปเลยก็ยังมี และคิดไปเองว่าจะขายได้ราคาตามนั้น ทั้งที่ในเต็นท์นั้นเป็นแค่ราคาตั้ง พอซื้อจริงอาจจะลดได้อีกมากก็เป็นได้
ความเป็นจริง : ใน เต็นท์อาจแพงกว่ารถบ้าน แต่ถ้าซื้อเป็นเงินผ่อนก็สะดวกดี เพราะมีบริการหรือติดต่อแหล่งเงินกู้ให้ได้ หรือถ้าบางเต็นท์ร้อนเงิน หรือใช้นโยบายเงินหมุนเร็ว กำไรนิดหน่อยก็ขายดีกว่าแช่นาน ราคาก็อาจไม่แพง
ความเข้าใจที่ถูกต้อง : ตั้ง เงื่อนไขในการซื้อไว้ว่า ราคาไม่เกี่ยวกับแหล่งที่ขาย จะซื้อที่ไหน ขอให้สภาพดีแล้วมีราคาที่เหมาะสมกันเป็นพอ ถูกแต่สภาพไม่ดี ก็ไม่น่าสน
เต็นท์รับประกัน ซ่อมฟรี ดูแลฟรี ไม่ดีคืนเงิน
ความเชื่อผิด : บริการหลังการขายตามโฆษณาซ่อมแบบค่าแรงฟรี เป็นระยะยาว คิดว่าช่างจะดี บริการเยี่ยม เสียแต่ค่าอะไหล่ หรือซื้ออะไหล่เข้าไปเองได้
ความเป็นจริง : เมื่อใช้บริการจริง กลับพบกับสารพัดปัญหา ช่างไม่เก่ง ค่าแรงฟรีจริง แต่บวกลงไปในค่าอะไหล่จนแพงเกินจริงหลายสิบเปอร์เซ็นต์ จะซื้ออะไหล่ไปให้ก็อิดออด สารพัดจะบอกปัด เป็นเรื่องปกติครับ ขายรถมือสอง 1 คันได้กำไรไม่กี่บาท จะมาดูแลหรือซ่อมฟรีกัน ในระยะยาวได้อย่างไร แทบไม่เคยเห็นเต็นท์ไหนประกาศออกมาแล้วบริการจริงๆ ได้ดีเลย
ความเข้าใจที่ถูกต้อง : ไม่ต้องสนใจเงื่อนไขซ่อมแบบค่าแรงฟรี ยกเว้นเรื่องการรับประกัน ที่บางเต็นท์มีให้ในระยะสั้นเช่น 1 เดือนซ่อมฟรีแบบไม่มีข้อแม้ ก็ควรทำเอกสารรับประกันให้รัดกุมและชัดเจนที่สุด
การเลือก รถยนต์มือสอง แบบที่ผู้ซื้อดูอะไรไม่เป็นเลย นอกจากสีเงาๆ และทดลองขับดู เป็นเรื่องที่เสี่ยงอย่างมาก ถ้าสนใจจริงๆ ควรหาคนที่มีความรู้มากกว่า ถึงจะไม่เก่งมาก แต่ก็ยังดี และที่สำคัญคือ ลบความเชื่อผิดๆ ออกไปก่อน !
ที่มา : http://www.car-2-buy.com/TipLifestyle/Tips/TipUsedCar/index.php
Tags |Used Diesel engines, used japanese diesel engines, used spare parts, used toyota engines, used Nissan engines, used Isuzu engines, used Mazda engines, used crankshaft, used cylinder head, used turbo charger, Overhaul kits, rebuild kits ,ขายเครื่องยนต์มือสอง,ขายเครื่องยนต์,เครื่องยนต์เบนซิน,เครื่องยนต์ดีเซล,จำหน่ายเครื่องยนต์มือสอง,จำหน่ายเครื่องยนต์,เครื่องยนต์จากญี่ปุ่น,เครื่องยนต์ราคาถูก,อะไหล่รถ,อะไหล่เก่า,อะไหล่มือสอง,อะไหล่เซียงกง,เครื่องยนต์มือสองจากญี่ปุ่น,เครื่องยนต์จากญี่ปุ่น,อะไหล่ดีเซลสองจากญี่ปุ่น,เครื่องยนต์จากญี่ปุ่น,อะไหล่ดีเซล , รถเฮี๊ยบรับจ้าง , รถเฮี๊ยบ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น