ค้นหาข้อมูลอย่างรวดเร็ว >>>

เครื่องยนต์ : แรงบิด และ แรงม้า








ข้อมูลความรู้ทางเทคนิคในส่วนนี้ เราจะกล่าวถึงแรงบิด (Torque) และแรงม้า (Horse Power)ซึ่งเมื่อท่านได้อ่านบทความนี้แล้ว  ท่านจะได้เข้าใจถึงความหมายของ ศัพท์ดังกล่าวและสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบเครื่องยนต์แต่ละ รุ่นได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการพิจารณาเลือกรถที่เหมาะสมกับการใช้งานของ ท่าน 

     แรงบิด (Torque) คือ แรงหมุนของเพลาเครื่องยนต์เป็นแรงที่ใช้เพื่อส่งกำลังของเครื่องยนต์ไปหมุน เกียร์ เพลา และ ล้อรถ เพื่อให้รถเคลื่อนที่ไปได้ แรงบิดจะมีค่าแตกต่างกันไปที่ความเร็วรอบเครื่องยนตต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิตว่าต้องการให้มีแรงบิดสูงสุดอยู่ที่ ความ เร็วรอบเครื่องยนต์ต่ำ ปานกลาง หรือ สูง รถที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงก็จะมีอัตราเร่งดีกว่ารถที่ใช้เครื่อง ยนต์ที่มีแรงบิดต่ำกว่า



     รูปที่ 1 คือ กราฟแสดงค่าแรงบิดของเครื่องยนต์ที่ความเร็วรอบต่างๆ เส้นสีฟ้า (A) แสดงค่าแรงบิดของเครื่องยนต์ที่ มีแรงบิดสูงสุด ที่ความ เร็วรอบต่ำและ เส้นสีแดง (B) แสดงค่าแรงบิดของเครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงสุดที่ความเร็วรอบสูงรถที่ใช้ เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงสุดในรอบเครื่องต่ำ หรือปานกลาง จะออกตัวได้ดีกว่าและให้อัตราเร่งที่ดีกว่าในช่วงความเร็วต่ำหรือความเร็ว ปานกลาง ในขณะที่รถที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงสุดในรอบเครื่องสูง จะให้อัตราเร่งที่ดีกว่าในช่วงความเร็วสูง และมีแนวโน้มที่จะให้ความเร็วสูงสุดที่สูงกว่า (ดูในเรื่องแรงม้า) แต่ในการออกตัวหรือในช่วงที่ใช้ความเร็วต่ำสมรรถนะ จะด้อยกว่า หรือ ที่มักเรียกกันว่า "ต้องรอรอบ"

     เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงสุดที่รอบเครื่องต่ำมักเหมาะกับรถเก๋งที่ใช้งาน ใน เมือง รถบรรทุก รถขับเคลื่อน 4 ล้อที่ใช้งานในป่าหรือ ที่ทุรกันดาร ส่วนเครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงสุดที่ความเร็วรอบสูงจะเหมาะกับรถที่ใช้เดิน ทางไกลบ่อยๆ ต้องการอัตราเร่งที่ดีที่ความเร็วสูง หน่วยของแรงบิดที่นิยมใช้กัน คือ Kg-m, Nm และ Ft-lbs


    แรงม้า (Horse Power) คือ หน่วยอันหนึ่งสำหรับใช้วัดกำลังของเครื่องยนต์ หน่วยวัดกำลังที่นิยมใช้กัน คือแรงม้า (HP),แรงม้า (PS) และ กิโลวัตต์ (KW)นอกจากนี้ในบางครั้งเราจะเห็นตัวย่อ BHP ซึ่งย่อมาจาก Brake Horse Power หมายถึง กำลังของเครื่องยนต์ที่ได้รับจากเพลาเครื่อง ซึ่งเท่ากับกำลังที่เครื่องยนต์ผลิตได้หักออก ด้วยแรงเสียดทานภายเครื่องยนต์ ดัง สูตร BHP = IHP - FHP โดยที่ IHP คือ Indicated Horse Power หมายถึงกำลังที่เครื่องยนต์ผลิตได้ และ FHP คือ Friction Horse Power ซึ่งหมายถึงแรงเสียดทานภายในเครื่องยนต์ กำลังของเครื่องยนต์สามารถคำนวณได้จากสูตรHP = K x Torque x RPM โดยที่ K คือ ค่าคงที่ T คือแรงบิด และ RPM คือความเร็วรอบของเครื่องยนต์แรงม้าสูงสุดของ เครื่องยนต์แต่ละรุ่นแต่ละแบบ จะอยู่ที่ ความเร็วรอบเครื่องยนต์แตกต่างกันไปแล้วแต่การออกแบบของผู้ผลิต แล้วแรงม้าเห็นกันในหนังสือ หรือใน specification ต่างๆ นั้นเป็น BHP หรือ IHP คำตอบน่าจะเป็นBHP เพราะเป็นแรงม้าที่ได้มาจากการทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์





     รูปที่ 2 เป็นกราฟแสดงแรงม้าและแรงบิดของเครื่องยนต์แรงม้าสูงสุดจะอยู่ที่ความเร็ว รอบสูงกว่าความเร็วรอบที่มีแรงบิดสูงสุด เสมอจากที่แรงบิดของเครื่องยนต์จะ แสดงถึงอัตราเร่ง แรงม้าของเครื่องยนต์ก็จะแสดงถึงความเร็ว สูงสุดของรถ ซึ่งหมายถึงความสามารถในการเอาชนะแรงเสียดทาน และ แรงต้านของอากาศ ที่จะมีมากขึ้น เป็นทวีคูณ (อัตราความเร็วยกกำลังสอง) เมื่อความเร็วสูงขึ้นจากสูตรคำนวณแรงม้าจะเห็นได้ว่า สำหรับเครื่องยนต์ที่มี ขนาดเท่าๆ กัน เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงสุดที่รอบต่ำจะมีแนวโน้มที่จะ มีแรงม้าสูงสุด ต่ำกว่า เครื่องยนต์ที่มีแรงบิด สูงสุดที่รอบสูงกว่า แต่ถ้าต้องการให้มีทั้งแรงบิดและแรงม้ามากขึ้น ก็จะต้องเป็นเครื่องยนต์ที่มีเทคโนโลยีสูงกว่า หรือ เป็นเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่กว่า หรือ มีการติดตั้งอุปกรณ์อื่นเพิ่ม เช่น turbocharger supercharger ฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่าราคาของเครื่องยนต์จะสูงขึ้น ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงก็จะสูงขึ้น และ มักจะต้องจ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้นอีกด้วย


ที่มา | phithan-toyota.com


Tags |Used Diesel engines, used japanese diesel engines, used spare parts, used toyota engines, used Nissan engines, used Isuzu engines, used Mazda engines, used crankshaft, used cylinder head, used turbo charger, Overhaul kits, rebuild kits ,ขายเครื่องยนต์มือสอง,ขายเครื่องยนต์,เครื่องยนต์เบนซิน,เครื่องยนต์ดีเซล,จำหน่ายเครื่องยนต์มือสอง,จำหน่ายเครื่องยนต์,เครื่องยนต์จากญี่ปุ่น,เครื่องยนต์ราคาถูก,อะไหล่รถ,อะไหล่เก่า,อะไหล่มือสอง,อะไหล่เซียงกง,เครื่องยนต์มือสองจากญี่ปุ่น,เครื่องยนต์จากญี่ปุ่น,อะไหล่ดีเซล รถเฮี๊ยบรับจ้าง , รถเฮี๊ยบ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Recent Comments